ผู้ที่มีสิทธิได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าอบรมหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. แกนนำชุมชน หมายถึง บุคคลที่มีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนหลักในงานพัฒนาชุมชน หรือมีผลงานพัฒนาด้านพลังงานชุมชน เป็นผู้นำที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในงานพัฒนาชุมชน
2. พนักงาน ปตท. หมายถึง พนักงาน/เจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานต่างๆ ในกลุ่ม ปตท.
3. เยาวชนในท้องถิ่น หมายถึง บุคคลอายุระหว่าง 15 -25 ปี ที่มีประสบการณ์ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาร่วมกับชุมชน เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจประเด็นปัญหาด้านการจัดการพลังงานหรืองานพัฒนาชุมชน
4. ข้าราชการ / พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐ / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง บุคคลในองค์กรภาครัฐ ผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาด้านพลังงาน หรืองานพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น
5. นักวิชาการท้องถิ่น / นักพัฒนาอิสระ หมายถึง บุคคลที่ทำงานด้านวิชาการที่มีความสนใจด้านการพัฒนาท้องถิ่น หรือเป็นนักพัฒนาท้องถิ่น
คุณสมบัติของผู้อบรม
- มีประสบการณ์หรือผลงานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาชุมชน
- เป็นผู้รู้หรือผู้สนใจในงานด้านพลังงานและการบริหารจัดการพลังงานชุมชน
- เป็นที่ยอมรับในชุมชนด้านการเป็นผู้นำเพื่อการพัฒนา
หมายเหตุ คุณสมบัติข้างต้นไม่รวมพนักงาน ปตท. / เยาวชน / ข้าราชการ / พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐ / องค์กรปกครองส่วนท้องที่ / ท้องถิ่น / สื่อมวลชน
เงื่อนไขการจบการอบรม
ผู้เข้าอบรมที่จะได้รับประกาศนียบัตรจากโครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ขาดอบรมได้ไม่เกิน 20 % ของเวลาการอบรมทั้งหมด หรือ ขาดการอบรมได้ไม่เกิน อาทิตย์ละ 2 วัน และไม่สามารถขาดติดต่อกันได้ทั้งอาทิตย์ ถ้าขาดจะตัดสิทธิ์การอบรมทั้งหมด โดยมีการประเมินเวลาเข้ารับการอบรม ดังนี้
- การลงทะเบียนก่อนเข้าอบรม
- การตรวจสอบจำนวนผู้เข้าอบรมในแต่ละชุดวิชาโดยพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม
หมายเหตุ กรณีที่มีเหตุจำเป็น ไม่สามารถเข้าอบรมวันใดวันหนึ่งสัปดาห์นั้นๆ ผู้เข้าอบรมต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ - เข้าร่วมกิจกรรมการประมวลความรู้ การประเมินความพึงพอใจหลักสูตรหลังอบรมในแต่ละสัปดาห์ตามที่หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชนกำหนด
- จัดทำ นำเสนอ และส่งโครงงานเชิงปฏิบัติการตามที่หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชนกำหนด
- ระหว่างการอบรม ไม่กระทำการใดๆ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของชื่อเสียงของหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน