PTT-CEMPหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน
ชุดวิชาที่ 1 : พลังงานศึกษา (Energy Literacy)
ศึกษาความรู้เบื้องต้นด้านพลังงาน ทั้งพลังงานสิ้นเปลืองและพลังงานทดแทน เพื่อสร้างเข้าใจภาพรวมและสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันระดับนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของชุมชน เน้นการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในประเด็นพลังงานและการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประเด็นปัญหาและสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานในระดับประเทศ ตลอดจนเกิดการเชื่อมโยงเข้าสู่การมีบทบาทของภาคประชาชนในระดับชุมชนเพื่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระดับชุมชนด้วยการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ชุดวิชา
รหัสวิชา |
รายชื่อวิชา |
จุดประสงค์การเรียนรู้ |
สาระสำคัญ |
EL1 | สถานการณ์และการจัดการพลังงาน | - เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เบื้องต้นด้านพลังงาน ทั้งพลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานทดแทน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจภาพรวมและปัจจัยที่มีผลต่อสถานการณ์และประเด็นพลังงานในปัจจุบัน
| - ศึกษาสถานการณ์พลังงานโลก สถานการณ์พลังงานในอาเซียน สถานการณ์พลังงานในประเทศไทย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์พลังงาน ในอนาคต ทั้งด้านปริมาณทรัพยากร การใช้ การจัดหาพลังงานในภาพรวม และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์พลังงานโลกในแต่ละภูมิภาค
- ศึกษาห่วงโซ่อุปทานของพลังงานประเภทต่างๆ ทั้งพลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานทดแทนที่เหมาะสมในประเทศไทย
- ศึกษาการจัดการพลังงานไทย โครงสร้าง บทบาทผู้เกี่ยวข้อง นโยบายในการจัดการพลังงานไทย พร้อมทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการอุปโภคบริโภคพลังงาน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
|
EL2 | พลังงานเบื้องต้นและสิทธิหน้าที่ของประชาชนต่อการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า | - เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจนโยบาย และหลักการของการบริหารจัดการพลังงานประเทศไทย
| - ศึกษาความหมาย ภาษา หน่วยวัดพลังงาน แหล่งกำเนิด การจำแนกรูปแบบ และกระบวนการเปลี่ยนรูปแบบพลังงาน การจำแนกชนิด ตลอดจนประเภทของพลังงานในปัจจุบัน คุณสมบัติของเชื้อเพลิงพลังงานแต่ละประเภท ข้อดีและข้อจำกัดของพื้นที่ต่างๆ ในการเลือกพลังงานมาใช้นำมาใช้
- ศึกษาสิทธิหน้าที่ของประชาชนในการจัดการพลังงานอย่างรู้คุณค่า และกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการจัดการพลังงานของไทย
|
EL3 | วิวัฒนาการ รูปแบบเทคโนโลยี นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทน | - เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงผลกระทบอันมาจากการผลิตและการใช้พลังงาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงการมีบทบาทในภาคประชาชนต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
| - ศึกษาที่มาและวิวัฒนาการการใช้เชื้อเพลิงพลังงานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต พัฒนาการด้านพลังงานทดแทนของโลก และการนำมาใช้ในไทยอย่างเป็นรูปธรรม รูปแบบเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับบริบทในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ นโยบายภาครัฐ และทิศทางในการบริหารจัดการพลังงานทดแทนของประเทศ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมขับเคลื่อนพลังงานทดแทน
|